ข้อห้ามของโบราณ

สิ่งที่ไม่ควรทำตามความเชื่อผู้สูงอายุ

ห้ามเล่าความฝันระหว่างที่กินข้าว สำหรับความเชื่อเรื่องห้ามเล่าความฝันระหว่างกินข้าวนั้นว่ากันว่าถ้าเกิดว่ามีผู้ใดเล่าความฝันที่ตัวเองฝันเมื่อคืนในตอนที่ระหว่างกินข้าวนั้นความฝันนั้นก็จะกลายเป็นจริงซึ่งส่วนใหญ่ฝันที่กลายเป็นจริงจะเป็นฝันร้ายของตัวเองอย่างนั้นคนโบราณจึงห้ามไม่ให้ใครก็ตามเล่าถึงความฝันในระหว่างที่กินข้าว นี่ก็เป็นความเชื่อของผู้สูงอายุแต่บางทีผู้สูงอายุอาจจะเล่าเรื่องนี้แก่เราก็เพราะว่าเวลากินข้าวนั้นเป็นเวลาที่เราควรจะมีความสุขกับคนที่กินด้วยเพราะถ้ามัวแต่เราฝันร้ายอีกฝ่ายก็จะหมดความสุข และนอกจากนั้น บางทีผู้สูงอายุอาจจะเตือนเราไปอย่างนั้นก็เพราะว่าเวลากินข้าวควรจะไม่พูดคุยต้องกินอาหารที่ก่อนถึงจะพูดคุยได้เพราะอาจจะทำให้เราสำลักหรือติดคอได้นั่นเองค่ะ 

 

เวลาทำอาหารห้ามกินอาหารโดยการใช้ทัพพี   ว่ากันว่าเหตุผลที่เวลาทำอาหารห้ามลองชิมอาหารด้วยการใช้วิธีนั้นก็เป็นเพราะว่าเวลาที่เราท้องลูกพอคลอดลูกออกมาลูกจะมีหน้าตาโค้งงอหรือจะพิการเหมือนทัพพีดังนั้นคนโบราณจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงหรือแม้แต่กระทั่งผู้ชายนำทัพผีมาชิมอาหารโดยเด็ดขาด แต่ถ้าถามถึงเหตุผลที่แท้จริงคือเพราะว่าเวลาที่เราใช้ทัพพี ขึ้นมาอาหารที่เราจะขึ้นมาเธอมีส่วนที่เกินมาบ้างและพอเรากินไม่หมดเราก็แค่กลับลงไปในทำให้น่าขยะแขยงโอกาสที่จะทำให้น้ำลายของเราอยู่ในอาหารด้วยดังนั้นคนโบราณบอกไว้ว่าห้ามกินอาหารด้วยทัพพีนั่นเองค่ะ

 

เวลามีคนมาหาที่บ้านห้ามทำแกงหอยขมให้แขกทาน  ว่ากันว่าถ้าเกิดว่ามีคนมาหาที่บ้านก็เราทำแกงหอยที่คนที่มานั้นทานก็จะทำให้มิตรกลายเป็นศัตรูจากความรักที่เคยปรองดองกษัตริย์แตกแยกและคิดจะฆ่ากันเองดังนั้นคนโบราณจึงห้ามเอาไว้ แต่ถ้าถามถึงเหตุผลที่แท้จริงก็เพราะว่าแกงหอยนั้นกินหญ้าโดยเฉพาะหอยขมที่กินไม่เป็นก็อาจจะทำให้สำลักออกมาได้ซึ่งไม่มีใครต้องการที่จะกินต่อหรือบางทีเวลาที่เรากินหอยขมนั้นเราจะต้องใช้ปากดูดในสมัยโบราณดังนั้นคนจึงไม่นิยมที่จะกินหอยขมเนื่องจากเวลากินจะทำให้ดูไม่มีมารยาทดังนั้นคนโบราณจึงสั้นข้อห้ามโบราณนี้เอาไว้เพื่อที่ลูกหลานจะได้ไม่ทำและจะได้ไม่มีใครกล่าวว่าวาดรูปหลานของตนนั้นไม่มีมารยาท ละนี่ก็คือ3ข้อห้ามที่คนโบราณได้คิดเอาไว้ 

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  แทงบอลออนไลน์

อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

 อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์อยุธยาและเป็นอุทยานขึ้นเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาจัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวอีกแบบหนึ่งในประเทศไทยเพราะสมัยก่อนอยุธยาเป็นเมืองเก่าและมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน อยุธยานั้นเป็นเมืองเก่านานแล้วและเป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมีกษัตริย์หลายพระองค์และมีหลายหลายราชวงศ์ ที่ขึ้นครองราชอาณาจักรอยุธยา อยุธยามีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานและหลังๆ การเรียนการสอนก็เน้น ประวัติศาสตร์อย่างมาก จึงทำให้การเรียนการสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลึกซึ้งมากขึ้น จึงทำไห้อยุธยา มีการค้นหามากมาย จึงหาเจอได้ว่า 

อยุธยา คือเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยทองคำ เเละมีความรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางใหญ่ๆ ของเอเชีย เเละเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ในการขนส่งสินค้า เเละเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ทางด้านการค้าขาย การขนส่ง การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ การส่งทูตไปยังสถานที่ต่างเเดน เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีด้วย เพื่อความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่า อยุธยา รุ่งเรืองทางด้านการค้าขายกับชาวต่างชาติ

เเละมีเครื่องราชบรรณาการจากเมืองอื่นๆ เวลาได้เมืองอื่นเป็นเมืองขึ้น อยุธยา จึงเป็นเมืองใหญ่ เเละร่ำรวยเงินทอง มีหลายๆราชวงศ์สืบต่อกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี เเละเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขายเป็นอย่างมาก เเละในรอบๆพระราชวัง ก็เต็มไปด้วยชุมชนเมืองต่างๆ ที่รายล้อมไปด้วยชาวต่างชาติ เพราะต่างชาติมาค้าขายกัน ในสมุดโบราณของชาวต่างชาติ ได้บันทึกไว้ ตั้งเเต่กรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง จนถึงตอนกรุงเเตก ก็มีบันทึกไว้ด้วยเช่นกัน จึงเป็นประวัติศาสตร์ไห้เราได้ศึกษากันอย่างยาวนาน

จนมาถึงอยุธยา จากที่อยุธยาเจริญรุ่งเรือง จนถึงตอนนี้เหลือเเต่ซากปรักหากพัง ไห้เราได้เห็นกันจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็มีเเต่ซากอิฐ ส่วนที่ยังหลงเหลือเป็นทองอยู่นั้น ก็มีไม่ถึง20% เพราะของเก่าได้ถูกเผาทำลายกันไปเกือบหมดเเล้ว ในปัจจุบัน อยุธยา เปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา เพื่อไห้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เเละท่องเที่ยว

เเละชาวต่างชาติ ก็มาเที่ยวกันเยอะ ได้รู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพิ่มเติมของอยุธยา เเละเป็นเดนมาร์กของจังหวัดอยุธยาด้วย ในอยุธยา ไม่ใช่มีเเค่อุทยานประวัติศาสตร์เท่านั้น ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆอีกเช่น ตลาดน้ำอโยธยา วัด เเละสถานที่เก่าๆต่างๆที่หลงเหลืออยู่ เเละบูรณะขึ้นมาใหม่ อยุธยา จึงเป็นเมืองที่หลายๆคนอยากมาท่องเที่ยว

 เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของคนในชาตินั้นๆ ว่าเมื่อสมัยก่อน ใช้ชีวิตเเบบไหน เจริญรุ่งเรืองในด้านไหน เเละทำไห้ได้รู้ว่า เมื่อก่อนอยุธยา มีเมืองที่เต็มไปด้วยทองคำ เเละมีบุคคลที่สำคัญต่างๆที่ทำไห้อยุธยาเจริญรุ่งเรือง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธา ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ไห้ขึ้นเป็นมรดกโลกของประเทศไทย เพราะอยุธยา มีอดีตที่สวยงาม เเละหลากหลายเชื้อชาติ เเละเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองในอดีตมาก่อน

เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวภาคกลาง เพื่อเชื่อมความรัก ความสามัคคีให้แก่แขกที่มาช่วยเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าว คือเป็นการร้องเพลงจีบสาวในระหว่างเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งจะร้องโต้ตอบกันไปมา ระหว่างหนุ่มสาว และจะใช้เสียงปรบมือเป็นการให้จังหวะในการร้องนั้น เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวก็จะมีกาละเล่นเต้นกำรำเคียวประกอบกันไปด้วย การเต้นเพลงนี้จะมีการย้ำเท้าอยู่กับที่มือข้างหนึ่งถือเคียว มืออีกข้างถือข้าวกำไว้

กายแต่งกายในการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

การแต่งกายของผู้หญิงนั้นจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอก มีดอกไม้ทัดที่หูด้วย ส่วนผู้ชายก็ใส่กางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อกุยเฮง สวมงอบบนศีรษะ และจะมีผ้าขาวม้าคาดพุงด้วย จะไม่สวมรองเท้าทั้งชายและหญิง ข้อสำคัญคือมือต้องถือเคียวกับรวงข้าวไว้ด้วย

ขั้นตอนการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวนี้จะเล่นหลังมาการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยจะแบ่งข้างกันเป็นฝ่ายชายหนึ่งฝั่ง ฝ่ายหญิงหนึ่งฝั่ง และจะมีพ่อเพลงขึ้นมาร้องก่อน และแม่เพลงจะเป็นฝ่ายตอบโต้ส่วนลูกคู่ที่มาร่วมในทีมทั้งสองฝ่ายก็จะคอยร้องผสานเสียงกันอย่างสนุกสนาน จะมีการปรบมือให้จังหวะในการร้องด้วย บางทีอาจจะมีพวกกลอง ฉิ่งและในเนื้อหาเพลงที่ร้อง ก็ถามสารทุกข์กัน บางทีก็เป็นการหยอกล้อเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว หรือหยอกล้อกันเล็กๆน้อย ในบางช่วงบางตอนของการร้องยังสะท้อนให้เห็นชีวิตของชาวนาอีกด้วย

เพลงเกี่ยวข้าวจะมีการเล่นได้ก็ต่อเมื่อมีการเก็บเกี่ยวในผืนนานั้นๆ และก่อนที่เจ้าของนาจะเก็บเกี่ยวในสมัยก่อนจะไม่มีการจ้าง จะใช้การขอแรงให้มาทำ และเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวของอีกบ้านชาวบ้านก็จะไป ก็จะผลัดกันไปแบบนี้จนครบทั้งหมู่บ้านเรียกว่าการลงแขก เจ้าของนาจะต้องไปขอแรงตามบ้านต่างๆให้มาช่วย และจะต้องกำหนดวันให้แน่นอน และเมื่อใกล้จะถึงวัน จะต้องมีการทำสัญลักษณ์ ให้ชาวบ้านรู้ด้วยว่าถึงวันเก็บเกี่ยวแล้ว และหลังจากนั้นถึงจะมีการเล่นเพลงเกี่ยวข้าวเกิดขึ้น และเจ้าของนาจะทำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูอย่างดี และถือได้ว่าการเกี่ยวข้าวนี้ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน มาถึงยุคปัจจุบันเราอาจจะเห็นเพลงเกี่ยวข้าวนี้ได้ใน ทีวีเพราะอาจจะไม่มีใครทำแล้วก็ได้ ฉะนั้นลูกหลานชาวไทยควรอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ หรือมันอาจจะช้าไปแล้วก็ได้ เพราะคนไทยได้ขายที่นาหมดกันไปแล้ว

การบวชพระ

การบวชพระเป็นประเพณีของคนไทยเมื่อลูกชายมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์

ก็อยากจะให้บวช ซึ่งสมัยก่อนคิดว่าการบวชของลูกชายเป็นการบวชทดแทนคุณพ่อ แม่ และได้มีนิทานเล่าบอกเอาไว้เรื่องพญานาค ได้มีพญานาคตนนึง ปลอมตัวมาขอพระพุทธเจ้าบวช ท่านจึงบวชให้และได้ถือศีลบำเพ็ญเพียรปละไปนอนรวมกับพระองค์อื่นๆ เมื่อได้หลับสนิทก็กลายร่างกลับไปเป็นร่างเดิมมีพระภิกษุตื่นมาเห็นต่างก็ตกใจกันมาก จึงนำเรื่องไปบอกแก่ท่านพระพุทธเจ้า ท่านจึงเรียกพญานาคตนนั้นมาคุยและได้ขอร้องให้สึกจากพระไป ก่อนที่จะสึกพญานาคได้ขอกับพระพุทธเจ้าว่า คนใดที่จะบวชเป็นพระสงฆ์

ของให้ถือเพศนาคก่อนบวชเพื่อที่จะอุทิศบุญไปยังสัตว์ทั้งหลายอีกด้วยเป็นที่มาของคำว่าพ่อนาค พิธีการบวชนาคนั้นจะมีการโกนหัวที่พ่อ แม่ จะเป็นคนตัดผมก่อนแล้วตามด้วยญาติๆ จากนั้นก็จะให้พระภิกษุเป็นคนปลงผม หรือโกนหัวให้เกลี้ยงต่อไป ก็จะนำเอาขมิ้น น้ำอบถูบนตัวและบนศีรษะของพ่อนาคให้มีสีเหลืองของขมิ้นและมีกลิ่นหอมจากน้ำอบเสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำแต่งตัว ด้วยชุดขาวจากนั้นก็จะมีการทำขวัญนาคในช่วงนี้พ่อ แม่ ญาติจะซึ่งในการทำขวัญจะมีการเล่าประวัติว่าแม่ตั้งท้องยังไง คลอดลูกยังไงแล้วจะร้องเพลงค่าน้ำนมให้พ่อนาคฟัง

เรียกน้ำตาแก่ญาติได้เลยหรือไม่ก็ใช้พระภิกษุมาสอนโดยการเทศ ส่วนในตอนเช้าก็จะนำนาคแห่นาคเข้าโบสถ์ บางทีก็จะมีแตรวงหรือกลองยาว สมัยนี้ก็นิยมเป็นรถแห่ จะเดินแห่อย่างน้อยสามรอบ ในบางทีแห่กัน สามรอบมั่ง ห้ารอบมั่ง เจ็ดรอบจนไปถึงเก้ารอบ พอครบจำนวนจะนำพ่อนาคมาไหว้ที่เสมาทำพิธีอีกหน่อยจากนั้นก็ให้พ่อนาคโปรยทานเมื่อโปรยทานเสร็จก็จะนำพ่อนาคเข้าโบสถ์โดยการต้องช่วยกันส่งให้พ่อนาค ใช้มือแตะที่ขื่อประคูโบสถ์ให้ได้ จากนั้นก็จะมีพระภิกษุมานั่งในโบสถ์และทำพิธี ขั้นตอนทำพิธีนี้ คือก่อนที่จะบวชก็ต้องมีการเข้าวัดฝึกท่องมนต์ ในสมัยนี้จะมีการตรวจโรค

ตรวจสารเสพติดในร่างกาย ต้องให้ตำรวจและกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเซ็นรับรองเสร็จแล้วต้องนำมาให้เจ้าอาวาสเซ็นอีกรอบแล้วนำเอกสารทั้งหมดไปส่งที่อำเภอ สมัยก่อนไม่ยุ้งยากขนาดนี้ เมื่อพ่อนาคทำพิธีเสร็จแล้วก็จะให้พ่อกับแม่นำดอกไม้ธูปเทียนพร้อมด้วยปัจจัยถวาย ใส่ในย่ามและพวกญาติๆก็ใส่ตาม และมีการทำบุญฉลองพระใหม่เป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีบุญผะเหวด

เมื่อคราวถึงเดือนมีนาคมหรือเรียกว่า เดือนสี่ ตามภาษาท้องถิ่น

จะมีการจัดงานบุญการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็คือประเพณีบุญผะเหวด ที่ยึดตามครรลองครองธรรมของฮีตสิบสองครองสิบสี่ ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาในเรื่องพระเวสสันดรชาดก ในการทำบุญก็จะทำเป็นกัณฑ์เทศน์ตามเรื่องราวของชาดกนี้ ถือเป็นการรวมตัวกันของคนในชุมชน มีการทำมาลัย นำเอาดอกไม้ที่มีตามท้องถิ่นมาประดับบนศาลาวัดเพื่อเตรียมฟังเทศน์ ก่อนถึงวันงานในช่วงเช้าของวันใหม่ในเวลาใกล้รุ่งจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมืองหรือแห่พระอุปคุต ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาทำอันตรายคนในหมู่บ้านได้ 

พอช่วงสายก็จะมีการโฮมกัน หรือการมาร่วมทำบุญของคนต่างหมู่บ้าน เพื่อแสดงถึงความศรัทธาและความยิ่งใหญ่ของการทำบุญ มีการเลี้ยงคนที่มาร่วมงานโดยการทำขนมจีนน้ำยา ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเพณีนี้ และการทำขนมต้มแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องทุกคนรวมทั้งผู้ที่ไม่ได้มาด้วย ซึ่งวันนี้มีความสำคัญคือเป็นวันแห่พระเวสสันดรเข้ามาในเมือง โดยการจัดขบวนกัณฑ์แห่ 13 กัณฑ์ รอบหมู่บ้าน และวันถัดมาจะมีการมาทำบุญที่วัด ต้องมาฟังพระเทศให้ครบทุกกัณฑ์เทศน์ ซึ่งหากใครสามารถฟังได้หมด ถือว่าชาตินี้ได้ขึ้นสรรค์ชั้นนิพพานแล้ว

และนอกจากนี้ยังมีการทำบุญโดยการบริจาคเงิน มีการแห่กัณฑ์หลอน อุทิศให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยถือเป็นกุศโลบายอีกอย่างหนึ่งในการให้ทาน ประเพณีนี้นับวันหาได้ยาก เพราะมีไม่กี่หมู่บ้านที่ยังคงยึ่ดมั่นถือมั่นปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกนั้นก็หายไปตามกาลเวลากับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำมาจากรุ่นสู่รุ่น บุญผะเหวด มีนัยอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องการให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ ต้องมีความเสียสละทั้งกำลังทรัพย์  กำลังแรงกาย

หากพอช่วยได้ ให้ละความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ดังคำสอนในนิทานชาดกพระเวสสันดรในตอนทานบารมี มหาทานที่ยิ่งใหญ่ เสียสละได้แม้กระทั่งลูกตัวเอง หากใครที่อยากมาร่วมรักษาวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ สามารถมาร่วมงานได้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ประจำปี สถานที่ก็คือลานหน้าบึงพลาญชัย จะได้พบกับความตระการตาและความอลังการ มีการแสดงแสงสีเสียงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติม พบขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าจากแต่ละคุ้มที่มาร่วมกัน ร่วมทั้งการแสดงพระธรรมเทศนาจากพระนักเทศน์ชื่อดังของประเทศไทย 

ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมืองหลวงกรุงเทพ

พื้นที่ในจังหวัดกรุงเทพนั้นเดิมที่มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบางหลายคนก็ยังไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าพื้นที่ในจังหวัดกรุงเทพนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาตั้งแต่ครั้งสมัยที่เรานั้นยังไม่รู้ภาษีภาษาและมีตำนานเหล่ากันมาอย่างยาวนานอีกทั้งยังมีประวัติและตำนานมามากมายที่ถูกเก็บเอาไว้ให้คนรุ่นหลังนั้นได้รู้กันว่าเดิมทีแล้วพื้นที่ในจังหวัดกรุงเทพนั้นมีส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของประวัติศาสตร์ที่เรานั้นยังไม่รู้มาก่อน

แพร่งสรรรพศาสตร์ (ย่านสามแพร่ง) เคยเป็นวังสรรพสาตรศุภกิจมาก่อน แพร่งสรรพศาสตร์นั้นเป็นย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งอยู่ที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร ในอดีต วังสรรพสาตรศุภกิจซึ่งเป็นวังที่ประทัพของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ซึ่งเป็นผู้บังคับบังชากงช่างในมหาราชวังในสมัยนั้นจึงได้ทำการก่อสร้างวังสรรพสาตรศุภกิจเมื่อปีพ.ศ.2444แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป66ปีในปีพ.ศ.2510วังนี้ก็ได้ถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดจะเหลือก็เพียงแต่ซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์จึงได้มีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทนเรียกย่านนี้ว่า แพร่งสรรพศาสตร์ ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจนั้นเอง ในปัจจุบันซุ้มประตูวังเก่ายังคงความสวยงามเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม

วังนางเลิ้ง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร เคยเป็นวังนางเลิ้งมาก่อน สำหรับวังนางนั้นเดิมที่หลายคนคงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว เดิมที่เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทาน แก่ พระบรวังค์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงใช้เป็นที่ประทัพถึงปี 2466พระองค์ได้สวรรคตลงเพียงอายุ 43พรรษา จากนั้นทายาทก็ได้ขายวังนางเลิ้ง ให้กับกรมยุวชนทหารบกต่อมาได้ถูกรื้อถอนเหลือแค่เพียง เรือนหมอพรและประตูวังที่อยู่ด้านหลังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งสร้างไว้เป็นที่ระลึกทางด้านหลังโรงเรียนเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้แทนส่วนตำหนักใหญ่ได้ถูกรื้อถอนแล้วสร้างใหม่เป็น คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร ในปัจจุบัน 

ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์ เคยเป็นโรงหนังศาลาเฉลิมไทยมาก่อน ซึ่งโรงหนังนั้นได้เปิดให้บริการเมื่อปี2492สามารถบรรจุคนดูได้1500ที่นั่งเลยทีเดียวเรียกได้ว่าเป็นที่นิยมจากผู้เข้าชมเป็นอย่างมากจนต้องมีการจองตั๋วล่วงหน้ากันเลยทีเดียว ซึ่งโรงหนังศาลาเฉลิมไทยได้นำหนังชื่อดังของไทยและหนังฮอลลีวู้ดเข้ามาฉายหลายเรื่องแต่เมื่อการเวลาได้ผ่านไปความนิยมในการรับชมภาพยนตร์ที่โรงก็ได้ถูกแทนที่ด้วยวีดีโอประกอบกับโรงหนังศาลาเฉลิมไทยตั้งอยู่ด้านหน้าของ วัดราชนัดดารามวรวิหาร และ โลหะปราสาท ทำให้เกิดการบดบังภาพความสง่างามคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมัดติได้รื้อถอนศาลาเฉลิมไทยและสร้างเป็น ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร์

ประวัตศาสตร์ทางภาคอีสาน

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในแถบทางภาคอีสานที่ได้มีการค้นพบหลักฐานทางด้านอาณาจักรต่างๆและอารยธรรมโบราณสถานที่มีความกี่ยวข้องทางด้านประวัติศาสตร์อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท้องเที่ยวให้ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้อีกด้วยซึ่งที่จริงแล้วทางภาคอีกสานนั้นก็มีแหล่งทางด้ารวัฒนธรรมต่างๆมากมายที่อยู่ทางภาคอีสานและมีถ้ำโบราณสถานที่มีอายุมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่เขานั้นได้สร้าเอาไว้เพื่อให้ลูกหลานนั้นได้ดูกัน

เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวในแถบภาคอีสานหรือทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ คนไทยส่วนใหญ่นั้นมักจะชอบในการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมเป็นลำดับแรก เนื่องจากในแถบทางภาคอีสานมีงานประเพณีหรือสถานที่สำคัญอันเป็นเอกลักษณ์อยู่มากมาย ในการท่องเที่ยวทางด้านเชิงวัฒนธรรมเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นเป็นสถานที่หรือบริเวณ ซึ่งได้แสดงออกถึงคุณลักษณะความสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม เช่น วัด พระราชวัง โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงการดำรงชีวิตของคนในชุมชนและด้านงานประเพณีหรือการละเล่นของท้องถิ่นอื่นๆ

สิ่งเหล่านี้จะแสดงออกถึงอารยธรรมที่เก่าก่อนที่หล่อหลอมสู่กรพัฒนาเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยอันเป็นที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ความเชื่อความศรัทธาของบรรพบุรุษที่ได้ถ่ายทอดจนมาถึงคนในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมภาคอีสานมีความโดนเด่นจากรูปแบบที่งดงามผสมผสานผ่านการเวลามาเนินนานหลายสิ่งเกิดขึ้นมานับ100นับ1000ปีในช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโบราณและได้ตกทอดมาเป็นมรดกของแผ่นดินมาสู่ลูกหลาย

การท่องเที่ยวด้านเชิงวัฒนธรรม 

ในภาคอีสานถือได้ว่ามีความหลากหลายโดยเฉพาะประเพณีประจำถิ่นที่ได้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนั้น ซึ่งก็ได้มีให้เห็นกันทุกจังหวัดแต่การที่จะไปท่องเที่ยวเดินชมงานในพิธีต่างๆก็ต้องมีข้อที่จำกัดเพราะว่างานเหล่านี้ได้จัดขึ้นตามช่วงของเวลาของในแต่ละปีผู้ที่จะต้องการเข้ารวมงานจึงจะต้องว่างแผ่นปรับเวลาให้มันถูกต้องตรงกันผู้ที่ชื่นชอบในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบางคนจึงอาจเหลือเดินทางศึกษาไปตามแหล่งโบราณสถานหรือที่ตามวัดวาอาราม ซึ่งก็สามารถที่จะเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ตลอดเวลาทั้งปี และในทั่วทั้งภาคอีสานก็ได้มีสถานที่เหล่านี้ให้เหลือชมกันอย่างมากมายตั้งแต่วัด พระธาตุ ชุมชนพื้นบ้าน รวมไปถึงปราสาทหินโบราณ  จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดหนึ่งของทางภาคอีสานที่ได้พบแหล่งโบราณสถานอยู่เป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นแผ่นดินด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลทางด้านพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะในตอนปลายและปัลลวะต่อเนื่องสมัยทวารวดีและยังได้พบหลักฐานอารยธรรมชนชาติขอมผสมสานรวมอยู่กู่สันตรัตน์เป็นโบราณสถานที่อาจจะบอกได้ว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ใน อําเภอนาดูน

ข้อห้ามที่ไม่ควรทำก่อนจะถึงวันตรุษจีน

วันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน เป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติมิตรที่ไม่ได้เจอหน้ากันมานาน และบางคนก็อาจจะได้รับอั่งเปาเป็นของขวัญจากผู้ใหญ่ที่นับถือแต่ในเมื่อวันขึ้นปีใหม่ของจีนทั้งหลายบางบ้านก็จะมีทำเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อๆกันมา และวันนี้เราจะมาพูดถึงข้อห้ามกันในวันตรุษจีนที่ไม่ควรทำมีอะไรบ้าง

ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน   การทำความสะอาดบ้าน และ ห้ามทิ้งขยะสำหรับในวันตรุษจีนซึ่งชาวจีนจะถือว่าเป็นการกวาดเอาโชคลาภ เอาเงินทอง  ออกไปจากบ้านถ้าหากว่าคุณนั้นจะทำการกวาดบ้านก็ควรจะทำก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนนะ

ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน    คนชาวจีนมีความเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีนเพราะฉะนั้นในการซักผ้าในวันตรุษจีนเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่านถ้าหากคุณนั้นมีผ้าที่ยังไม่ได้ซักหรือผ้ากลองใหญ่คุณก็ควรที่จะซักผ้าก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนเพื่อไม่ให้เป็นการลบหลู่เทพเจ้าแห่งน้ำด้วย

ห้ามใส่ชุดดำในวันตรุษจีน    เนื่องจากผ้าสีขาวดำนั้นซึ่งเป็นสัญลักษณะขงความตาย หมายถึง เกี่ยวกับลางร้ายในวันตรุษจีนทุกคนจึงมักชอบใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยเฉพาะสีแดงซึ่งเป็นสีแห่งความโชคดีดังนั้นจึงได้มีการนิยมชอบใส่สีแดงกันต่อๆมาเพื่อรับความโชคดีในวันตรุษจีนเพื่อเป็นวันที่ดีอีกวันหนึ่งของชาวจีน

ห้ามตัด หรือ สระผม    ซึ่งสำหรับในคำว่าผมนั้น สำหรับในภาษาจีนนั้นเป็นคำพ้องเสียงและคำพ้องรูป ที่มีความหมายว่า มั่งคั่ง ซึ่งในการตัดผมนั้นจึงเปรียบเสมือนการนำเอาความมั่งคั่งนั้นเอาออกไปและถ้าเกิดว่าผมของคุณนั้นยาวลุงรังยังไงก็อดใจรอไปก่อนรอให้ผ่านวันตรษจีนนี้ไปก่อนจากนั้นก็ค่อยไปตัดและถ้าไม่อย่างนั้นในความมั่งคั่งของเรานั้นหมดหายไป

ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามทะเล    สำหรับในคำพูดนั้นคนชาวจีนนั้นถือมากที่สุดและสำหรับชาวจีนนั้นจะงดพูดคำหยาบ และพูดในสิ่งที่ไม่ดีและยังรวมไปถึงการพูดถึงด้านความตาย หรือ พูดเกี่ยวกับผีสางการพูดในสิ่งไม่ดีในวันตรุษจีนนี้จะนำพาเอาความโชคร้ายนั้นมาให้ตลอดทั้งปี

ห้ามใช้ของมีคม ในวันตรุษจีน    สำหรับของเหล่านี้ทุกคนชาวจีนหรือเชื่อสายจีนนั้นจะมีความเชื่อกันว่าหากได้ใช้ของมีคมมาตัดสิ่งของในวันตรุษจีนนี้จะถือว่าเป็นการตัดเอาความโชคดีนั้นไปด้วยดังนั้นของมีคมจึงเป็นสิ่งของที่ต้องห้ามสำหรับวันตรุษจีน

ห้ามยืมเงิน  ห้ามใครยืมเงิน    ในที่นี้มันอาจจะรวมไปถึงการให้ยืมสิ่งของอื่นๆนอกจากเงินด้วยการให้ยืมเงินในวันตรุษจีนจะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามายืมเงินตลอดทั้งปีรวมไปถึงติดเงินใครก็ควรจะคืนให้เรียบร้อยก่อนถึงวันตรุษจีน

ประวัติวัดราชบูรณะ

ประวัติวัดราชบูรณะ มีดังนี้

   นักท่องเที่ยวที่ชอบไปเที่ยวตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คงจะไม่พลาดที่จะมาเที่ยวที่วัดราชบูรณะเพราะที่นี่มีอายุเก่าแก่มานานหลายร้อยปี เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเลยก็ว่าได้ หากใครที่เคยมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมความงดงามภายในบริเวณวัดจะพบว่าว่าวัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่จะไม่ได้สวยสดงามมีสีทองเหลืองอร่ามอย่างวัดอื่นๆ

แต่ที่วัดแห่งนี้จะเป็นซากความสวยงามที่เรายังสามารถมองเห็นได้เพราะวัดที่พระนครศรีอยุธยาเกือบทั้งหมดจะถูกพวกพม่าจุดไฟเผาตั้งแต่กรุงศรีได้เสียกรุงครั้งที่สองซึ่งหนึ่งในวัดที่ถูกเผาก็คือที่วัดราชบูรณะแห่งนี้ สำหรับที่วัดนี้เคยมีประวัติเล่าว่ามีโจรได้เข้ามาขุดทำลายเพื่อให้สมบัติที่อาจจะมีการฝังเอาไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งเท่าที่ทราบพวกโจรได้เอาสมบัติที่บรรพชนของพวกเราที่พยายามเก็บรักษาเอาไว้ให้ลูกหลานไป

ซึ่งอาจจะนำเอาไปขาย แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่จากทางกรมศิลปกรก็เข้ามาบูรณะซ่อมแซมและลองขุดต่อก็ยังเห็นว่ายังมีสมบัติอีกมากมายที่ถูกซ่อนอยู่ด้านล่าง ปัจจุบันสมบัติเหล่านั้นทางเจ้าหน้าที่นำมาเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และมีการนำมาแสดงให้ประชาชนคนไทยได้ดู รวมถึงจุดที่มีการขุดพบสมบัติก็มีการเปิดให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เข้าไปเยี่ยมชมได้

ถึงแม้ที่วัดแห่งนี้จะมีการถูกทำลายไปเยอะแต่ก็ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปศึกษาข้อมูลได้เป็นจำวนมาก ที่นี่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยศิลาแลง มีองค์ประพระประธานองค์ใหญ่ หากใครสนใจเข้าเยี่ยมชม สามารถเข้าไปได้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. จนถึง 16.30 น.  สำหรับวัดราชบูรณะมีประวัติระบุเอาไว้ว่าผู้ที่สร้างวัดแห่งนี้คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ซึ่งที่วัดแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดงานถวายพระเพลิงของพี่ชายของพระองค์ทั้งสองคน โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เจ้าอ้ายพระยาที่ทรงดูแลเมืองสุพรรณบุรีอยู่กับเจ้ายี่พระยาที่ดูแลเมืองสรรค์บุรี ทั้งสองพระองค์เกิดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติกัน

มีการต่อสู้กันขึ้นซึ่งผลที่ออกมาทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จสวรรคตทั้งคู่ทำให้เจ้าสามพระยาจำเป็นต้องเสด็จมาจากจังหวัดชัยนาทเพื่อมาขึ้นครองราชแทน ซึ่งพระองค์ได้ใช้ที่วัดแห่งนี้เป็นที่ถวายเพลิงศพของทั้งเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา และเจ้าสามพระยาได้ทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นโดยให้มีชื่อว่า เจดีย์เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ที่มาของวันสารทจีน

ที่มาของวันสารทจีน มีดังนี้

นอกจากเทศกาลที่กินเจแล้ว ไหว้พระจันทร์แล้วยังมีเทศกาลสารทจีนอีกหนึ่งประเพณีของคนจีนเพราะว่าเราสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นโบราณ เพราะว่าวันสาทรจีนนั้นหนึ่งปีนั้นมีครั้งเดียวที่ทำให้ครอบครัวหลายครอบครัวนั้นมารวมตัวกันเพราะว่าต้องมาไหว้บรรพบุรุษของแต่ละคนนั่นเองจึงทำให้หลายครอบครัวนั้นมารวมตัวกันมากินข้าวพร้อมหน้ากันซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกวันที่ทำให้เหล่าคนจีนนั้นมารวมตัวเป็นวันที่ทำให้เจอญาติพี่น้องได้มานั่งพูดคุยกันนั่นเอง 

วันสารทจีน คือ    วันที่สำคัญวันหนึ่งของคนจีนเพราะว่าเหล่าบรรดาลูกหลานนั้นต้องมาแสดงความยินดีต่อบรรพบุรุษเพราะว่าคนจีนนั้นมีความเชื่อว่าเป็นวันที่ประตูวิญญาณนั้นเปิดเพื่อให้มารับบุญกุศลผลบุญที่เรานั้นทำไปให้อีกด้วย

เรื่องเล่าของวันสารทจีน    ตำนานของวันสารทจีนมีเองเล่าอยู่ว่าเป็นวันที่ยมบาลนั้นลงมาตรวจบัญชีแล้วส่งให้คนที่ตายนั้นไปอยู่บนสรรค์หรือว่าลงนรกและเป็นเรื่องเล่าที่สู่กันฟังคือเรื่องของมู่เหลียน  มู่เหลียนนั้นเป็นคนที่เคร่งในการที่เจอย่างมากแต่ด้วยว่าแม่ของมู่เหลียนนั้นไม่เป็นคนที่กินเจจึงทำให้มู่เหลียนต้องทำตามที่แม่เขาสั่งมีอยู่วันหนึ่งแม่ของมู่เหลียนนั้นได้ออกอุบายว่าให้มู่เหลียนนั้นไปชวนคนที่กินเจนั้นมากินข้าวที่บ้านเพราะว่าอยากที่จะเลี้ยงข้าวคนที่กินเจหนึ่งมื้อ

โดยให้มู่เหลียนนั้นไปชวนแต่รู้ไหมว่าสิ่งที่แม่ของมู่เหลียนนั้นทำผิดต่อผู้ที่ถือศีลและกินเจนั่นก็คือเขานั้นได้ทำกับข้างเลี้ยงคนที่ถือศีลโดยที่เขานั้นได้ใส่น้ำมันหมูลงในกับข้าวแล้วให้คนที่ถือศีลนั้นทานซึ่เป็นเรื่องที่ทำผิดอย่างมากจึงทำให้แม่ของมู่เหลียนนั้นตกนรกขุมที่ 8 ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสและเมื่อแม่ของมู่เหลียนนั้นได้ตายไปเขาจึงได้รับความทรมานโดยที่เขานั้นไม่ได้กินอาหาร

  และยังถูกแย่งจากภูตผีวิญญาณจากนั้นด้วยความที่มู่เหลียนนั้นอยากจะรับกรรมแทน แต่ว่ายมบาลนั้นได้บอกว่ากรรมใครก็กรรมมัน และสิ่งเดียวที่มู่เหลียนนั้นทำเพื่อที่จะช่วยแม่ของเขาคือการสวดคัมภีร์อิ๋ว และการถวายอาหารเป็นประจำเพื่อให้แม่ของเขานั้นหลุดพ้นจากกรรมที่ทำ 

และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงทำให้ชาวจีนนั้นได้สืบทอดการทำประเพณีนี้ด้วยการเซ่นไหว้บรรพบุรุษโดยที่มีอาหารคาวและหวาน  รวมไปถึงกระดาษเงินและกระดาษทองให้กับบรรดาวิญญาณญาติของตน