เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวภาคกลาง เพื่อเชื่อมความรัก ความสามัคคีให้แก่แขกที่มาช่วยเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าว คือเป็นการร้องเพลงจีบสาวในระหว่างเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งจะร้องโต้ตอบกันไปมา ระหว่างหนุ่มสาว และจะใช้เสียงปรบมือเป็นการให้จังหวะในการร้องนั้น เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวก็จะมีกาละเล่นเต้นกำรำเคียวประกอบกันไปด้วย การเต้นเพลงนี้จะมีการย้ำเท้าอยู่กับที่มือข้างหนึ่งถือเคียว มืออีกข้างถือข้าวกำไว้

กายแต่งกายในการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

การแต่งกายของผู้หญิงนั้นจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอก มีดอกไม้ทัดที่หูด้วย ส่วนผู้ชายก็ใส่กางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อกุยเฮง สวมงอบบนศีรษะ และจะมีผ้าขาวม้าคาดพุงด้วย จะไม่สวมรองเท้าทั้งชายและหญิง ข้อสำคัญคือมือต้องถือเคียวกับรวงข้าวไว้ด้วย

ขั้นตอนการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวนี้จะเล่นหลังมาการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยจะแบ่งข้างกันเป็นฝ่ายชายหนึ่งฝั่ง ฝ่ายหญิงหนึ่งฝั่ง และจะมีพ่อเพลงขึ้นมาร้องก่อน และแม่เพลงจะเป็นฝ่ายตอบโต้ส่วนลูกคู่ที่มาร่วมในทีมทั้งสองฝ่ายก็จะคอยร้องผสานเสียงกันอย่างสนุกสนาน จะมีการปรบมือให้จังหวะในการร้องด้วย บางทีอาจจะมีพวกกลอง ฉิ่งและในเนื้อหาเพลงที่ร้อง ก็ถามสารทุกข์กัน บางทีก็เป็นการหยอกล้อเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว หรือหยอกล้อกันเล็กๆน้อย ในบางช่วงบางตอนของการร้องยังสะท้อนให้เห็นชีวิตของชาวนาอีกด้วย

เพลงเกี่ยวข้าวจะมีการเล่นได้ก็ต่อเมื่อมีการเก็บเกี่ยวในผืนนานั้นๆ และก่อนที่เจ้าของนาจะเก็บเกี่ยวในสมัยก่อนจะไม่มีการจ้าง จะใช้การขอแรงให้มาทำ และเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวของอีกบ้านชาวบ้านก็จะไป ก็จะผลัดกันไปแบบนี้จนครบทั้งหมู่บ้านเรียกว่าการลงแขก เจ้าของนาจะต้องไปขอแรงตามบ้านต่างๆให้มาช่วย และจะต้องกำหนดวันให้แน่นอน และเมื่อใกล้จะถึงวัน จะต้องมีการทำสัญลักษณ์ ให้ชาวบ้านรู้ด้วยว่าถึงวันเก็บเกี่ยวแล้ว และหลังจากนั้นถึงจะมีการเล่นเพลงเกี่ยวข้าวเกิดขึ้น และเจ้าของนาจะทำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูอย่างดี และถือได้ว่าการเกี่ยวข้าวนี้ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน มาถึงยุคปัจจุบันเราอาจจะเห็นเพลงเกี่ยวข้าวนี้ได้ใน ทีวีเพราะอาจจะไม่มีใครทำแล้วก็ได้ ฉะนั้นลูกหลานชาวไทยควรอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ หรือมันอาจจะช้าไปแล้วก็ได้ เพราะคนไทยได้ขายที่นาหมดกันไปแล้ว