เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวภาคกลาง เพื่อเชื่อมความรัก ความสามัคคีให้แก่แขกที่มาช่วยเกี่ยวข้าว เพลงเกี่ยวข้าว คือเป็นการร้องเพลงจีบสาวในระหว่างเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งจะร้องโต้ตอบกันไปมา ระหว่างหนุ่มสาว และจะใช้เสียงปรบมือเป็นการให้จังหวะในการร้องนั้น เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวก็จะมีกาละเล่นเต้นกำรำเคียวประกอบกันไปด้วย การเต้นเพลงนี้จะมีการย้ำเท้าอยู่กับที่มือข้างหนึ่งถือเคียว มืออีกข้างถือข้าวกำไว้

กายแต่งกายในการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

การแต่งกายของผู้หญิงนั้นจะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอก มีดอกไม้ทัดที่หูด้วย ส่วนผู้ชายก็ใส่กางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อกุยเฮง สวมงอบบนศีรษะ และจะมีผ้าขาวม้าคาดพุงด้วย จะไม่สวมรองเท้าทั้งชายและหญิง ข้อสำคัญคือมือต้องถือเคียวกับรวงข้าวไว้ด้วย

ขั้นตอนการเล่นเพลงเกี่ยวข้าว

เพลงเกี่ยวข้าวนี้จะเล่นหลังมาการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยจะแบ่งข้างกันเป็นฝ่ายชายหนึ่งฝั่ง ฝ่ายหญิงหนึ่งฝั่ง และจะมีพ่อเพลงขึ้นมาร้องก่อน และแม่เพลงจะเป็นฝ่ายตอบโต้ส่วนลูกคู่ที่มาร่วมในทีมทั้งสองฝ่ายก็จะคอยร้องผสานเสียงกันอย่างสนุกสนาน จะมีการปรบมือให้จังหวะในการร้องด้วย บางทีอาจจะมีพวกกลอง ฉิ่งและในเนื้อหาเพลงที่ร้อง ก็ถามสารทุกข์กัน บางทีก็เป็นการหยอกล้อเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างหนุ่มสาว หรือหยอกล้อกันเล็กๆน้อย ในบางช่วงบางตอนของการร้องยังสะท้อนให้เห็นชีวิตของชาวนาอีกด้วย

เพลงเกี่ยวข้าวจะมีการเล่นได้ก็ต่อเมื่อมีการเก็บเกี่ยวในผืนนานั้นๆ และก่อนที่เจ้าของนาจะเก็บเกี่ยวในสมัยก่อนจะไม่มีการจ้าง จะใช้การขอแรงให้มาทำ และเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวของอีกบ้านชาวบ้านก็จะไป ก็จะผลัดกันไปแบบนี้จนครบทั้งหมู่บ้านเรียกว่าการลงแขก เจ้าของนาจะต้องไปขอแรงตามบ้านต่างๆให้มาช่วย และจะต้องกำหนดวันให้แน่นอน และเมื่อใกล้จะถึงวัน จะต้องมีการทำสัญลักษณ์ ให้ชาวบ้านรู้ด้วยว่าถึงวันเก็บเกี่ยวแล้ว และหลังจากนั้นถึงจะมีการเล่นเพลงเกี่ยวข้าวเกิดขึ้น และเจ้าของนาจะทำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูอย่างดี และถือได้ว่าการเกี่ยวข้าวนี้ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน มาถึงยุคปัจจุบันเราอาจจะเห็นเพลงเกี่ยวข้าวนี้ได้ใน ทีวีเพราะอาจจะไม่มีใครทำแล้วก็ได้ ฉะนั้นลูกหลานชาวไทยควรอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ หรือมันอาจจะช้าไปแล้วก็ได้ เพราะคนไทยได้ขายที่นาหมดกันไปแล้ว

การบวชพระ

การบวชพระเป็นประเพณีของคนไทยเมื่อลูกชายมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์

ก็อยากจะให้บวช ซึ่งสมัยก่อนคิดว่าการบวชของลูกชายเป็นการบวชทดแทนคุณพ่อ แม่ และได้มีนิทานเล่าบอกเอาไว้เรื่องพญานาค ได้มีพญานาคตนนึง ปลอมตัวมาขอพระพุทธเจ้าบวช ท่านจึงบวชให้และได้ถือศีลบำเพ็ญเพียรปละไปนอนรวมกับพระองค์อื่นๆ เมื่อได้หลับสนิทก็กลายร่างกลับไปเป็นร่างเดิมมีพระภิกษุตื่นมาเห็นต่างก็ตกใจกันมาก จึงนำเรื่องไปบอกแก่ท่านพระพุทธเจ้า ท่านจึงเรียกพญานาคตนนั้นมาคุยและได้ขอร้องให้สึกจากพระไป ก่อนที่จะสึกพญานาคได้ขอกับพระพุทธเจ้าว่า คนใดที่จะบวชเป็นพระสงฆ์

ของให้ถือเพศนาคก่อนบวชเพื่อที่จะอุทิศบุญไปยังสัตว์ทั้งหลายอีกด้วยเป็นที่มาของคำว่าพ่อนาค พิธีการบวชนาคนั้นจะมีการโกนหัวที่พ่อ แม่ จะเป็นคนตัดผมก่อนแล้วตามด้วยญาติๆ จากนั้นก็จะให้พระภิกษุเป็นคนปลงผม หรือโกนหัวให้เกลี้ยงต่อไป ก็จะนำเอาขมิ้น น้ำอบถูบนตัวและบนศีรษะของพ่อนาคให้มีสีเหลืองของขมิ้นและมีกลิ่นหอมจากน้ำอบเสร็จแล้วก็ไปอาบน้ำแต่งตัว ด้วยชุดขาวจากนั้นก็จะมีการทำขวัญนาคในช่วงนี้พ่อ แม่ ญาติจะซึ่งในการทำขวัญจะมีการเล่าประวัติว่าแม่ตั้งท้องยังไง คลอดลูกยังไงแล้วจะร้องเพลงค่าน้ำนมให้พ่อนาคฟัง

เรียกน้ำตาแก่ญาติได้เลยหรือไม่ก็ใช้พระภิกษุมาสอนโดยการเทศ ส่วนในตอนเช้าก็จะนำนาคแห่นาคเข้าโบสถ์ บางทีก็จะมีแตรวงหรือกลองยาว สมัยนี้ก็นิยมเป็นรถแห่ จะเดินแห่อย่างน้อยสามรอบ ในบางทีแห่กัน สามรอบมั่ง ห้ารอบมั่ง เจ็ดรอบจนไปถึงเก้ารอบ พอครบจำนวนจะนำพ่อนาคมาไหว้ที่เสมาทำพิธีอีกหน่อยจากนั้นก็ให้พ่อนาคโปรยทานเมื่อโปรยทานเสร็จก็จะนำพ่อนาคเข้าโบสถ์โดยการต้องช่วยกันส่งให้พ่อนาค ใช้มือแตะที่ขื่อประคูโบสถ์ให้ได้ จากนั้นก็จะมีพระภิกษุมานั่งในโบสถ์และทำพิธี ขั้นตอนทำพิธีนี้ คือก่อนที่จะบวชก็ต้องมีการเข้าวัดฝึกท่องมนต์ ในสมัยนี้จะมีการตรวจโรค

ตรวจสารเสพติดในร่างกาย ต้องให้ตำรวจและกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านเซ็นรับรองเสร็จแล้วต้องนำมาให้เจ้าอาวาสเซ็นอีกรอบแล้วนำเอกสารทั้งหมดไปส่งที่อำเภอ สมัยก่อนไม่ยุ้งยากขนาดนี้ เมื่อพ่อนาคทำพิธีเสร็จแล้วก็จะให้พ่อกับแม่นำดอกไม้ธูปเทียนพร้อมด้วยปัจจัยถวาย ใส่ในย่ามและพวกญาติๆก็ใส่ตาม และมีการทำบุญฉลองพระใหม่เป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณีบุญผะเหวด

เมื่อคราวถึงเดือนมีนาคมหรือเรียกว่า เดือนสี่ ตามภาษาท้องถิ่น

จะมีการจัดงานบุญการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็คือประเพณีบุญผะเหวด ที่ยึดตามครรลองครองธรรมของฮีตสิบสองครองสิบสี่ ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาในเรื่องพระเวสสันดรชาดก ในการทำบุญก็จะทำเป็นกัณฑ์เทศน์ตามเรื่องราวของชาดกนี้ ถือเป็นการรวมตัวกันของคนในชุมชน มีการทำมาลัย นำเอาดอกไม้ที่มีตามท้องถิ่นมาประดับบนศาลาวัดเพื่อเตรียมฟังเทศน์ ก่อนถึงวันงานในช่วงเช้าของวันใหม่ในเวลาใกล้รุ่งจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมืองหรือแห่พระอุปคุต ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาทำอันตรายคนในหมู่บ้านได้ 

พอช่วงสายก็จะมีการโฮมกัน หรือการมาร่วมทำบุญของคนต่างหมู่บ้าน เพื่อแสดงถึงความศรัทธาและความยิ่งใหญ่ของการทำบุญ มีการเลี้ยงคนที่มาร่วมงานโดยการทำขนมจีนน้ำยา ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเพณีนี้ และการทำขนมต้มแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้องทุกคนรวมทั้งผู้ที่ไม่ได้มาด้วย ซึ่งวันนี้มีความสำคัญคือเป็นวันแห่พระเวสสันดรเข้ามาในเมือง โดยการจัดขบวนกัณฑ์แห่ 13 กัณฑ์ รอบหมู่บ้าน และวันถัดมาจะมีการมาทำบุญที่วัด ต้องมาฟังพระเทศให้ครบทุกกัณฑ์เทศน์ ซึ่งหากใครสามารถฟังได้หมด ถือว่าชาตินี้ได้ขึ้นสรรค์ชั้นนิพพานแล้ว

และนอกจากนี้ยังมีการทำบุญโดยการบริจาคเงิน มีการแห่กัณฑ์หลอน อุทิศให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยถือเป็นกุศโลบายอีกอย่างหนึ่งในการให้ทาน ประเพณีนี้นับวันหาได้ยาก เพราะมีไม่กี่หมู่บ้านที่ยังคงยึ่ดมั่นถือมั่นปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกนั้นก็หายไปตามกาลเวลากับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำมาจากรุ่นสู่รุ่น บุญผะเหวด มีนัยอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องการให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็นผู้รับ ต้องมีความเสียสละทั้งกำลังทรัพย์  กำลังแรงกาย

หากพอช่วยได้ ให้ละความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ดังคำสอนในนิทานชาดกพระเวสสันดรในตอนทานบารมี มหาทานที่ยิ่งใหญ่ เสียสละได้แม้กระทั่งลูกตัวเอง หากใครที่อยากมาร่วมรักษาวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ สามารถมาร่วมงานได้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ประจำปี สถานที่ก็คือลานหน้าบึงพลาญชัย จะได้พบกับความตระการตาและความอลังการ มีการแสดงแสงสีเสียงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติม พบขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าจากแต่ละคุ้มที่มาร่วมกัน ร่วมทั้งการแสดงพระธรรมเทศนาจากพระนักเทศน์ชื่อดังของประเทศไทย